เป้าหมาย (Understanding Goal) : นักเรียนเกิดความรู้สึกเชิงจำนวนมีทักษะด้านการดำเนินการบวก ลบ คูณและหาร เข้าใจเกี่ยวกับการค้นหาข้อมูล สามารถนำข้อมูลที่ได้มาแสดงข้อมูลในรูปแบบอื่นได้ เช่น ตาราง แผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิแท่ง มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆรอบตัว สามารถให้เหตุผลและแก้ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้

วันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Mind mapping

เป้าหมายหลัก
นักเรียนเกิดความรู้สึกเชิงจำนวนมีทักษะด้านการดำเนินการบวก ลบ คูณและหาร เข้าใจเกี่ยวกับการค้นหาข้อมูล สามารถนำข้อมูลที่ได้มาแสดงข้อมูลในรูปแบบอื่นได้ เช่น ตาราง แผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิแท่ง มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆรอบตัว สามารถให้เหตุผลและแก้ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้

ผังมโนทัศน์



ปฏิทินการเรียนรู้รายวิชา คณิตศาสตร์
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
 3   ประจำ Quarter 3  ปีการศึกษา 2/2558

Week
Input
Process
Output
Outcome
1
โจทย์  : ทบทวนเนื้อหาเดิม
  - โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ และการหาร
  - การวัด

Key Quarter :
   นักเรียนจะสามารถถ่ายทอดความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร?

เครื่องมือคิด :
  - Blackboard Share
  - Show and share
  - Brainstorms

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
  - ครู
  - นักเรียน

สื่อและการเรียนรู้ :
  บรรยากาศในชั้นเรียน
- ทบทวนการบ้านในช่วงปิดเรียน พร้อมแสดงวิธีคิด
- ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้
      > การวิเคราะห์โจทย์ปัญหา
      > การบวก การลบ การคูณ และการหาร
      > ความยาว น้ำหนัก เวลา เงิน
ภาระงาน
  -  สนทนาและเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้
  - Show and Share ช่วงเวลาบน Time line

ชิ้นงาน
  - แก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ และการหารพร้อมแสดงวิธีคิดลงในสมุด
  - ใบงานแสดงช่วงเวลาบน Time line
ความรู้
  นักเรียนมีความเข้าใจ และเกิดความรู้สึกเชิงจำนวน เชิงรูปภาพ ช่วงเวลา สามารถนำมาสร้างกระบวนการคิดที่หลากหลาย เพื่อค้นหาคำตอบ อีกทั้งสามารถถ่ายทอดความเข้าใจของตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจและนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของตนเองได้อย่างเหมาะสม
(ค 1.1 ป.3/1-2, 1.2 ป.3/1-2, 2.1 ป.3/1-6, 6.1 ป.3/1-3)
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเห็นแบบรูป
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  รับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่น และเป้าหมายในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
2
โจทย์ อ่านและเขียนจดบันทึกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่ระบุเวลา

Key Quarter :
   เราจะรู้ได้อย่างไรว่าแต่ละวันมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นกับตัวเราบ้าง?

เครื่องมือคิด :
  - Blackboard Share
  - Show and share
  - Brainstorms

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
  - ครู
  - นักเรียน

สื่อและการเรียนรู้ :
  - เรื่องเล่า
 - บรรยากาศในชั้นเรียน
- ครูเล่าเรื่อง “ 1 วันของฟ้าใส”
- ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับเรื่อง “ 1 วันของฟ้าใส”
- ทบทวนการเขียนบันทึกประจำวันของแต่ละคน พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
- แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการจดบันทึกประจำวัน
- ทบทวนการอ่านและเขียนช่วงเวลา / เวลา
- นักเรียนฝึกเขียนบันทึกเหตุการณ์ประจำวันโดยยังไม่ระบุเวลา
- สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับข้อดี – ข้อเสีย ของการจดบันทึกเหตุการณ์ประจำวัน
- นักเรียนฝึกเขียนบันทึกประจำวันโดยระบุเวลา
ภาระงาน
  - สนทนาถาม – ตอบเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน
  - จดบันทึกการมา – กลับโรงเรียนของตนเองตลอดทั้งสัปดาห์
ชิ้นงาน
  - จดบันทึกเหตุการณ์ประจำวันตลอดทั้งสัปดาห์
  - นักเรียนสรุปเหตุการณ์ “ 1 วันของฟ้าใส” ผ่านการจดบันทึก

ความรู้
  นักเรียนสามารถอ่านและจดบันทึกเหตุการณ์ประจำวันโดยระบุเวลา เพื่อถ่ายทอดให้ผู้อื่นเช้าใจได้
(ค 2.2 ป.3/3, 6.1 ป.3/1-3)
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  รับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่น และเป้าหมายในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
3 – 4
โจทย์ การรวบรวมและจำแนกข้อมูล

Key Quarter :
   นักเรียนจะมีวิธีการจัดการกับข้อมูลที่มีจำนวนมากให้เข้าใจง่ายได้อย่างไร?

เครื่องมือคิด :
  - Blackboard Share
  - Show and share
  - Brainstorms

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
  - ครู
  - นักเรียน
  - ผู้ปกครอง

สื่อและการเรียนรู้ :
  - ตารางข้อมูลต่างๆ
  - บรรยากาศในชั้นเรียน
- นักเรียนสังเกตข้อมูลต่างๆ ในรูปแบบของตาราง
- ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกับเกี่ยวกับตารางข้อมูลต่างๆ
- นักเรียนสำรวจความชอบของเพื่อนๆ ภายในห้องเกี่ยวกับเรื่อง สี วิชาที่เรียน เป็นต้น
- นักเรียนสำรวจสิ่งต่างๆ เช่น ไข่ไก่ ไข่เป็ด วิชาที่ชอบ อาหารที่ชอบของพี่ๆ น้องๆ  พร้อมจดบันทึก
- จำแนกข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบตาราง


ภาระงาน
   - ออกแบบเครื่องมือในการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูล
  - ออกแบบตารางในการจัดการข้อมูล
  - นำเสนอข้อมูลที่ตนเองสำรวจมา
ชิ้นงาน
  - ตารางแสดงข้อมูล
  - แผนภูมิรูปภาพ
  - แผนภูมิแท่ง
ความรู้
  นักเรียนมีความเข้าใจ และสามารถจำแนกข้อมูลต่างๆ โดยจัดรูปแบบข้อมูลในรูปแบบตารางพร้อมให้เหตุผลและนำเสนอข้อมูลของตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจได้
(ค 1.2 ป.3/1-2, 5.1 ป.3/1, 6.1 ป.3/1-3)
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเห็นแบบรูป
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  รับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่น และเป้าหมายในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
5
โจทย์ อ่านและเขียนแผนภูมิรูปภาพและแผนภูมิแท่งได้

Key Quarter :
   การนำเสนอข้อมูลแบบตารางและแผนภูมิเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?

เครื่องมือคิด :
  - Blackboard Share
  - Show and share
  - Brainstorms

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
  - ครู
  - นักเรียน

สื่อและการเรียนรู้ :
  - ตารางข้อมูลต่างๆ
  - แผนภูมิรูปภาพ/แผนภูมิแท่ง
 - บรรยากาศในชั้นเรียน
- นักเรียนสังเกตแผนภูมิรูปภาพ
- ครูและนักเรียนร่วมกันระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกต
- นักเรียนแสดงข้อมูลจากที่ทำมาในสัปดาห์ที่ผ่านมาในรูปแบบของแผนภูมิรูปภาพ
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับแผนภูมิรูปภาพ
- นักเรียนแสดงข้อมูลจากที่ทำมาในสัปดาห์ที่ผ่านมาในรูปแบบของแผนภูมิแท่ง
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับแผนภูมิแท่ง
- นักเรียนออกแบบการแสดงข้อมูลในรูปแบบอื่นๆ ตามจินตนาการพร้อมให้เหตุผล

ภาระงาน
   - ออกแบบการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
  - สนทนาถาม – ตอบเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน
ชิ้นงาน
  - ออกแบบแผนภูมิรูปภาพและแผนภูมิแท่ง
  - นำเสนอข้อมูลในรูปแบบอื่น

ความรู้
  นักเรียนอ่านและเขียนแผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิแท่งได้ อีกทั้งสามารถคาดคะเนแนวโน้มหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้
(ค 1.2 ป.3/1-2, 5.1 ป.3/2, 6.1 ป.3/1-3)
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเห็นแบบรูป
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  รับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่น และเป้าหมายในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
6 – 7
โจทย์
  - ความสัมพันธ์แบบรูปตัวเลข
  - ความสัมพันธ์แบบรูปของรูปร่าง รูปทรง ขนาด
  - ความสัมพันธ์ประยุกต์โจทย์ปัญหา

Key Quarter :
   นักเรียนจะสามารถแก้ปัญหาหรือสร้างสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?

เครื่องมือคิด :
  - Blackboard Share
  - Show and share
  - Brainstorms

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
  - ครู
  - นักเรียน

สื่อและการเรียนรู้ :
 - บรรยากาศในชั้นเรียน
 - ตัวอย่างความสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ

- นักเรียนสังเกตความสัมพันธ์แบบรูป
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์แบบรูป
- นักเรียนทำใบงานความสัมพันธ์แบบรูป
- นักเรียนออกแบบและสร้างความสัมพันธ์แบบรูป
- นักเรียนสังเกตความสัมพันธ์แบบตัวเลขทั้ง 1 ชั้นและ 2 ชั้นตามลำดับความง่ายไปหายาก
- นักเรียนออกแบบและสร้างความสัมพันธ์แบบตัวเลขทั้ง 1 ชั้นและ 2 ชั้น
- นักเรียนทำใบงานความสัมพันธ์แบบตัวเลข
- นักเรียนออกแบบและสร้างความสัมพันธ์ตัวเลขพร้อมอธิบายและให้เหตุผล
- ครูสร้างโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการบวก การลบ การคูณ และการหารที่มีความซับซ้อน
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับโจทย์ปัญหานั้น พร้อมให้เหตุผล
- นักเรียนแก้โจทย์ปัญหา พร้อมแสดงวิธีการคิดและให้เหตุผล
- นักเรียนสร้างโจทย์ปัญหาจาก ประโยคสัญลักษณ์ที่ครูกำหนดให้

ภาระงาน
    สนทนาถาม – ตอบเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน
ชิ้นงาน
 - นักเรียนทำใบงานความสัมพันธ์แบบรูป
- นักเรียนออกแบบและสร้างความสัมพันธ์แบบรูป
- นักเรียนทำใบงานความสัมพันธ์แบบตัวเลข
- นักเรียนออกแบบและสร้างความสัมพันธ์ตัวเลขพร้อมอธิบายและให้เหตุผล
- นักเรียนแก้โจทย์ปัญหา พร้อมแสดงวิธีการคิดและให้เหตุผล
- นักเรียนสร้างโจทย์ปัญหาจาก ประโยคสัญลักษณ์ที่ครูกำหนดให้

ความรู้
  นักเรียนมีความเข้าใจ และสามารถวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ มองเห็นรูปแบบ (patter) ความสัมพันธ์และฟังก์ชันอื่นๆ พร้อมให้เหตุผลได้
(ค 1.2 ป.3/1-2, 4.1 ป.3/1-2, 6.1 ป.3/1-3)
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเห็นแบบรูป
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  รับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่น และเป้าหมายในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
8 – 10
โจทย์
  - ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนมา
  - สรุปองค์ความรู้

Key Quarters :
   - นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง จะนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างไร?
  - นักเรียนจะถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด :
  - Blackboard Share
  - Show and share
  - Brainstorms

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
  - ครู
  - นักเรียน

สื่อและการเรียนรู้ :
  - บรรยากาศในชั้นเรียน

- ทบทวนเกี่ยวกับเรื่องจำนวนและการดำเนินการ
  > การแก้โจทย์ปัญหาการบวกเลข 4 หลักพร้อมแสดงวิธีการคิดในแนวตั้ง
  > การแก้โจทย์ปัญหาการลบเลข 4 หลักพร้อมแสดงวิธีการคิดในแนวตั้ง
  > การแก้โจทย์ปัญหาการคูณเลข 3 หลักพร้อมแสดงวิธีการคิดในแนวตั้ง
  > การแก้โจทย์ปัญหาการหารเลข 3 หลักพร้อมแสดงวิธีการคิดแบบหารยาวไม่กระจาย
- ทบทวนเกี่ยวกับเรื่องนาฬิกา/ปฏิทิน/การจดบันทึกเหตุการณ์ประจำวัน
- ทบทวนเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลและการแสดงข้อมูลในรูปแบบของตารางและแผนภูมิแท่ง
- ทบทวนเกี่ยวกับเรื่องพีชคณิตทั้งแบบรูป ตัวเลขและโจทย์ปัญหา
- สรุปองค์ความรู้


ภาระงาน
    สนทนาถาม – ตอบเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน
ชิ้นงาน
- ตารางแสดงข้อมูล
- แผนภูมิแท่ง
- ใบงานการบวก ลบ คูณและหาร
- ใบงานพีชคณิต
- สรุปองค์ความรู้หลังเรียน
ความรู้
  นักเรียนเกิดความเข้าใจ มีทักษะทางด้านคณิตศาสตร์ทั้งด้านจำนวนและการดำเนินการ การจัดการกับข้อมูล ตลอดจนการมองเห็นรูปแบบต่างๆ ที่ซ่อนอยู่สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้
(ค 1.1 ป.3/1-2, 1.2 ป.3/1-2, 2.2 ป.3/3, 4.1 ป.3/1-2, 5.1 ป.3/1-2, 6.1 ป.3/1-3)
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเห็นแบบรูป
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  รับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่น และเป้าหมายในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


ตารางวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัด
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
มาตรฐานหลักสูตร
ตัวชี้วัด
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ                                                                                                          
1.1 .3/1
เขียนและอ่านตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย และตัวหนังสือ แสดงปริมาณของสิ่งของหรือจำนวนนับที่ไม่เกินหนึ่งแสน
 และศูนย์
1.1 .3/2
- เปรียบเทียบและเรียงลำดับจำนวนนับไม่เกินหนึ่งแสนและศูนย์
1.2 .3/1
บวก ลบ คูณ หาร และบวก ลบ คูณ หาร ระคน ของจำนวนนับไม่เกินหนึ่งแสน และศูนย์ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ
1.2 .3/2
- วิเคราะห์และแสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาและโจทย์ปัญหาระคนของจำนวนนับไม่เกินหนึ่งแสน และศูนย์ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ
สาระที่ 2 การวัด
2.1 .3/1
- บอกความยาวเป็นเมตร  เซนติเมตร  และมิลลิเมตร  เลือกเครื่องวัดที่เหมาะสมและเปรียบเทียบความยาว
2.1 .3/2
- บอกน้ำหนักเป็นกิโลกรัม  กรัม  และขีด  เลือกเครื่องชั่งที่เหมาะสมและเปรียบเทียบน้ำหนัก
2.1 .3/3
- บอกปริมาตรและความจุเป็นลิตร มิลลิลิตร  เลือกเครื่องตวงที่เหมาะสมและเปรียบเทียบปริมาตรและความจุในหน่วยเดียวกัน
2.1 .3/4
- บอกเวลาบนหน้าปัดนาฬิกา (ช่วง 5 นาที)  และอ่านเขียนบอกเวลาโดยใช้จุด
2.1 .3/5
- บอกความสัมพันธ์ของหน่วยการวัดความยาว  น้ำหนัก  และเวลา
2.1 .3/6
- อ่านและเขียนจำนวนเงินโดยใช้จุด
2.2 .3/1
- แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัดความยาว  การชั่ง  การตวง  เงิน  และเวลา
2.2 .3/2
- อ่านและเขียนบันทึกรายรับรายจ่าย
2.2 .3/3
- อ่านและเขียนบันทึกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่ระบุเวลา
สาระที่ 3 เรขาคณิต
3.1 .3/1
- บอกชนิดของรูปเรขาคณิตสองมิติที่เป็นส่วนประกอบของสิ่งของที่มีลักษณะเป็นรูปเรขาคณิตสามมิติ
3.1 .3/2
- ระบุรูปเรขาคณิตสองมิติที่มีแกนสมมาตรจากรูปที่กำหนดให้
3.1 .3/3
- เขียนชื่อจุด  เส้นตรง  รังสี  ส่วนของเส้นตรง  มุม  และเขียนสัญลักษณ์
3.2 .3/1
- เขียนรูปเรขาคณิตสองมิติที่กำหนดให้ในแบบต่างๆ
3.2 .3/2
- บอกรูปเรขาคณิตต่างๆ ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัว
สาระที่ 4 พีชคณิต
4.1 .3/1
- บอกจำนวนและความสัมพันธ์ในแบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้นทีละ 3  ทีละ 4  ทีละ 25  ทีละ 50  และลดลงทีละ 3  ทีละ 4  ทีละ ทีละ 25  ทีละ 50  และแบบรูปซ้ำ
4.1 .3/2
- บอกรูปและความสัมพันธ์ในแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง  ขนาด  หรือสีที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
5.1 .3/1
- รวบรวมและจำแนกข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน
5.1 .3/1
- อ่านข้อมูลจากแผนภูมิรูปภาพและแผนภูมิแท่งอย่างง่าย
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
6.1 .3/1
- ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
6.1 .3/2
- ใช้ความรู้  ทักษะ  และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
6.1 .3/3
- ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ  และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
6.1 .3/4
- ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร  การสื่อความหมาย  และการนำเสนอได้อย่างถูกต้อง
6.1 .3/5
- เชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ในคณิตศาสตร์  และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ
6.1 .3/6
- มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์