เป้าหมาย (Understanding Goal) : นักเรียนเกิดความรู้สึกเชิงจำนวนมีทักษะด้านการดำเนินการบวก ลบ คูณและหาร เข้าใจเกี่ยวกับการค้นหาข้อมูล สามารถนำข้อมูลที่ได้มาแสดงข้อมูลในรูปแบบอื่นได้ เช่น ตาราง แผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิแท่ง มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆรอบตัว สามารถให้เหตุผลและแก้ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้

Week1

            เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 1 .... นักเรียนมีความเข้าใจ และเกิดความรู้สึกเชิงจำนวน เชิงรูปภาพ ช่วงเวลา สามารถนำมาสร้างกระบวนการคิดที่หลากหลาย เพื่อค้นหาคำตอบ อีกทั้งสามารถถ่ายทอดความเข้าใจของตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจและนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของตนเองได้อย่างเหมาะสม
Week
Input
Process
Output
Outcome
1
โจทย์  : ทบทวนเนื้อหาเดิม
  - โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ และการหาร
  - การวัด

Key Quarter :
   นักเรียนจะสามารถถ่ายทอดความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร?

เครื่องมือคิด :
  - Blackboard Share
  - Show and share
  - Brainstorms

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
  - ครู
  - นักเรียน

สื่อและการเรียนรู้ :
  บรรยากาศในชั้นเรียน
จันทร์
ชง
  ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ช่วงปิดเรียนนักเรียนไปทำอะไรบ้าง”
เชื่อม
  - ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมช่วงปิดเรียน
  - ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับการบ้านช่วงปิดเรียน พร้อมเฉลยคำตอบ
อังคาร
เชื่อม
 ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับการบ้านช่วงปิดเรียน พร้อมเฉลยคำตอบต่อจากเมื่อวาน
พุธ
ชง
  ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดโดยการสร้างโจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ และการหารเกี่ยวกับเรื่องความยาวและน้ำหนักเพื่อทบทวนสิ่งที่ได้เรียนมาใน Quarter ที่ผ่านมา
เชื่อม
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับโจทย์ปัญหา พร้อมแสดงวิธีการคิดที่หลากหลาย
ใช้
  นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณและการหารพร้อมแสดงวิธีการคิด
พฤหัสบดี
ชง
  นักเรียนสังเกตเลข 1 – 24 บนกระดาน พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “สังเกตเห็นอะไร, เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราอย่างไรบ้าง”
เชื่อม
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็น และความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของตนเอง
ชง
  - ครูโชว์นาฬิกาแล้วให้นักเรียนอ่านเวลาบนหน้าปัดนาฬิกา
  - ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ถ้านาฬิกาเป็นเส้นตรงเราจะให้เข็มยาวและเข็มสั้นชี้ตรงไหนเพื่อบอกเวลาเหมือนหน้าปัดนาฬิกา”
เชื่อม
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการเขียนเวลาบน Time line
ใช้
  นักเรียนทำใบงานแสดงเวลาบน Time line
ภาระงาน
  -  สนทนาและเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้
  - Show and Share ช่วงเวลาบน Time line

ชิ้นงาน
  - แก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ และการหารพร้อมแสดงวิธีคิดลงในสมุด
  - ใบงานแสดงช่วงเวลาบน Time line
ความรู้
  นักเรียนมีความเข้าใจ และเกิดความรู้สึกเชิงจำนวน เชิงรูปภาพ ช่วงเวลา สามารถนำมาสร้างกระบวนการคิดที่หลากหลาย เพื่อค้นหาคำตอบ อีกทั้งสามารถถ่ายทอดความเข้าใจของตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจและนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของตนเองได้อย่างเหมาะสม
(ค 1.1 ป.3/1-2, 1.2 ป.3/1-2, 2.1 ป.3/1-6, 6.1 ป.3/1-3)
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเห็นแบบรูป
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  รับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่น และเป้าหมายในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ภาพกิจกรรม / ชิ้นงาน






1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์แรกของการเปิดเรียนพี่ๆ น่ารักมากสามารถดูแลตนเองได้ยอดเยี่ยมมากค่ะ ...
    ทบทวนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนมาใน Quarter ที่ผ่านมาในเรื่องต่างๆ สังเกตเห็นพี่ๆ มีความเข้าใจดี
    และคุณครูสอดแทรกเรื่องของการอ่านและเขียนเวลาบน Time line วันแรกๆ จะมีพี่วาหว่า ที่เห็นภาพได้เร็วและสามารถอธิบายให้เพื่อนๆ เข้าใจ
    วันที่สองพี่ๆ ส่วนมาเริ่มมองเห็นภาพ และสามารถอ่านและเขียนเวลาบน Time line ได้ยอดเยี่ยมมากๆ ค่ะ

    สัปดาห์แรกสังเกตเห็นว่าพี่ๆ รู้เวลาและมีความรับผิดชอบมากขึ้นค่ะ..

    ตอบลบ