เป้าหมาย (Understanding Goal) : นักเรียนเกิดความรู้สึกเชิงจำนวนมีทักษะด้านการดำเนินการบวก ลบ คูณและหาร เข้าใจเกี่ยวกับการค้นหาข้อมูล สามารถนำข้อมูลที่ได้มาแสดงข้อมูลในรูปแบบอื่นได้ เช่น ตาราง แผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิแท่ง มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆรอบตัว สามารถให้เหตุผลและแก้ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้

week5

      เป้าหมายรายสัปดาห์ที่  5 .... นักเรียนอ่านและเขียนแผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิแท่งได้ อีกทั้งสามารถคาดคะเนแนวโน้มหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
5
โจทย์ อ่านและเขียนแผนภูมิรูปภาพและแผนภูมิแท่งได้

Key Quarter :
   การนำเสนอข้อมูลแบบตารางและแผนภูมิเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?

เครื่องมือคิด :
  - Blackboard Share
  - Show and share
  - Brainstorms

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
  - ครู
  - นักเรียน

สื่อและการเรียนรู้ :
  - ตารางข้อมูลต่างๆ
  - แผนภูมิรูปภาพ/แผนภูมิแท่ง
 - บรรยากาศในชั้นเรียน
จันทร์
ชง
  - ครูยกตัวอย่างการเลี้ยงสัตว์ปีกของชายคนคน เล่าไปติดไป
  - ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ถ้าเราจะแสดงข้อมูลในรูปแบบของตารางจะทำอย่างไร, แล้วมีการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบอื่นหรือไม่”
เชื่อม
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลทั้งในรูปแบบของตารางและแผนภูมิรูปภาพ
ใช้
  นักเรียนสร้างแผนภูมิรูปภาพแสดงจำนวนเพื่อนๆ ในห้อง โดยจำแนกเป็นกลุ่ม
อังคาร
ชง
   นักเรียนสังเกตแผนภูมิแท่งในรูปแบบต่างๆ พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “สังเกตเห็นอะไรบ้าง, จากที่สังเกตเรารู้อะไรบ้าง”
เชื่อม
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนภูมิแท่งแสดงข้อมูลในรูปแบบต่างๆ พร้อมส่วนประกอบของแผนภูมิแท่ง
ใช้
  นักเรียนสร้างแผนภูมิแสดงข้อมูลวิชา และอาหารที่ชอบมากที่สุดของเพื่อนๆ ในห้อง
พุธ
ชง
  - ครูและนักเรียนทบทวนการแสดงข้อมูลในรูปแบบของแผนภูมิแท่ง
  - นักเรียนสังเกตข้อมูลจำนวนนักเรียนทั้งหมดตั้งแต่ อ. 1 – ม.3 พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะแสดงข้อมูลดังกล่าวในรูปแบบของแผนภูมิแท่งได้อย่างไร”
เชื่อม
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวการนำเสนอข้อมูลจำนวนนักเรียนในรูปแบบแผนภูมิแท่ง
ใช้
  นักเรียนวางแผนการสร้างแผนภูมิแสดงข้อมูล (งานคู่)
พฤหัสบดี
ใช้
  - นักเรียนสร้างแผนภูมิแสดงข้อมูลจำนวนนักเรียนทั้งหมด
  - นักเรียนนำเสนอข้อมูลของตนเอง
ภาระงาน
   - ออกแบบการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
  - สนทนาถาม – ตอบเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน
  - นำเสนอข้อมูลของตนเอง
ชิ้นงาน
  - สร้างแผนภูมิรูปภาพแสดงจำนวนเพื่อนๆ ในห้อง โดยจำแนกเป็นกลุ่ม
  - สร้างแผนภูมิแสดงข้อมูลวิชา และอาหารที่ชอบมากที่สุดของเพื่อนๆ ในห้อง
 - วางแผนการสร้างแผนภูมิแสดงข้อมูล (งานคู่)
 - สร้างแผนภูมิแสดงข้อมูลจำนวนนักเรียนทั้งหมด

ความรู้
  นักเรียนอ่านและเขียนแผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิแท่งได้ อีกทั้งสามารถคาดคะเนแนวโน้มหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้
(ค 1.2 ป.3/1-2, 5.1 ป.3/2, 6.1 ป.3/1-3)
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเห็นแบบรูป
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  รับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่น และเป้าหมายในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ภาพกิจกรรม/ชิ้นงาน








          

1 ความคิดเห็น:

  1. ช่วงแรกๆ คุณครูให้นักเรียนสังเกตแผนภูมิต่างๆ ภายในโรงเรียนสังเกตเห็นว่าพี่ๆ รู้สึกเฉยๆ กับสิ่งที่สังเกตคุณครูให้พี่ๆ ค้นหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนภูมิชนิดต่างๆ ซึ่งสังเกตได้ว่าพี่ๆ เริ่มมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องแผนภูมิแสดงข้อมูลมากขึ้น ... จนกลางสัปดาห์คุณครูให้พี่ๆ สร้างแผนภูมิแสดงข้อมูลของของนักเรียนชั้น อ.1 - ม.3 พี่ๆ มีความเข้าใจเกี่ยวกับแผนภูมิมากขึ้นและมีความสนใจเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิมากขึ้นสังเกตจากการที่พี่ๆ มาเล่าให้ฟังว่าเจอแผนภูมิเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ภายในโรงเรียนมากขึ้น จากนั้นคุณครูสอดแทรกเรื่องของการดำเนินการให้กับพี่ๆ ทั้งการบวก การลบ การคูณและการหาร พี่ๆ สามารถทำได้ดีตามศักยภาพค่ะ ..

    ตอบลบ