เป้าหมาย (Understanding Goal) : นักเรียนเกิดความรู้สึกเชิงจำนวนมีทักษะด้านการดำเนินการบวก ลบ คูณและหาร เข้าใจเกี่ยวกับการค้นหาข้อมูล สามารถนำข้อมูลที่ได้มาแสดงข้อมูลในรูปแบบอื่นได้ เช่น ตาราง แผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิแท่ง มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆรอบตัว สามารถให้เหตุผลและแก้ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้

Week3

   เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 3 .... นักเรียนมีความเข้าใจ และสามารถจำแนกข้อมูลต่างๆ โดยจัดรูปแบบข้อมูลในรูปแบบตารางพร้อมให้เหตุผลและนำเสนอข้อมูลของตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
3
โจทย์ การรวบรวมและจำแนกข้อมูล

Key Quarter :
   นักเรียนจะมีวิธีการจัดการกับข้อมูลที่มีจำนวนมากให้เข้าใจง่ายได้อย่างไร?

เครื่องมือคิด :
  - Blackboard Share
  - Show and share
  - Brainstorms

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
  - ครู
  - นักเรียน
  - ผู้ปกครอง

สื่อและการเรียนรู้ :
  - ตารางข้อมูลต่างๆ
  - บรรยากาศในชั้นเรียน
จันทร์
ชง
  ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะรู้ได้อย่างไรว่าเพื่อๆ ในห้องชอบเรียนวิชาอะไรมากที่สุด”
เชื่อม
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลหาวิชาที่เพื่อนๆ ชอบมากที่สุด
ใช้
  นักเรียนรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิชาที่เพื่อนๆ ชอบเรียนมากที่สุด โดยการสอบถามข้อมูล
อังคาร
ชง
 - ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลต่อจากเมื่อวาน
  - ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “เพื่อนๆ ชอบเรียนวิชาอะไรมากที่สุด, ทำไมข้อมูลที่รวบรวมมามีข้อมูลไม่ตรงกัน คิดว่าเป็นเพราะอะไร”
เชื่อม
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูล และการได้มาของข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
ใช้
  นักเรียนรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเมนูอาหารที่เพื่อนๆ ชอบรับประทานมากที่สุด
พุธ
ชง
  ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “การค้นหาข้อมูลมีอุปสรรคหรือไม่ แล้วมีวิธีการแก้ปัญหานั้นอย่างไรบ้าง”
เชื่อม
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการค้นหาข้อมูล และการแก้ปัญหาต่างๆ เมื่อเจออุปสรรคระหว่างการทำงาน
ชง
  ครูตั้งตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่ามีวิธีการรวบรวมข้อมูลอย่างไรอย่างไรให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำ”
เชื่อม
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
พฤหัสบดี
ชง
  - นักเรียนสังเกตตารางแสดงข้อมูลในหลายๆ รูปแบบ
  - ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “เห็นอะไร, ตารางนี้บอกอะไรเราบ้าง” เพื่อเชื่อมโยงสู่การแสดงข้อมูลในรูปแบบของตาราง
เชื่อม
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการอ่านตารางข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
ชง
  - ครูยกตัวอย่างเกี่ยวกับการปลูกพืชของชาวนาให้นักเรียนสังเกต
  - ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ถ้าเราจะนำข้อมูลนี้แสดงออกมาในรูปแบบของตาราง นักเรียนจะทำอย่างไรจะประกอบด้วยอะไรบ้าง”
เชื่อม
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการแสดงข้อมูลในรูปแบบของตาราง
ภาระงาน
   - ออกแบบเครื่องมือในการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูล
  - นำเสนอข้อมูลที่ตนเองสำรวจมา
ชิ้นงาน
  - รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิชาที่เพื่อนๆ ชอบเรียนมากที่สุด โดยการสอบถามข้อมูล
  - รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเมนูอาหารที่เพื่อนๆ ชอบรับประทานมากที่สุด

ความรู้
  นักเรียนมีความเข้าใจ และสามารถจำแนกข้อมูลต่างๆ โดยจัดรูปแบบข้อมูลในรูปแบบตารางพร้อมให้เหตุผลและนำเสนอข้อมูลของตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจได้
(ค 1.2 ป.3/1-2, 5.1 ป.3/1, 6.1 ป.3/1-3)
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเห็นแบบรูป
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  รับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่น และเป้าหมายในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ภาพกิจกรรม/ชิ้นงาน




1 ความคิดเห็น:

  1. ครั้งแรกกับการเรียนรู้เกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยที่คุณครูสร้างโจทย์ให้พี่ๆ ว่า "เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเพื่อนในห้องของเราชอบเรียนวิชาอะไรมากที่สุด"
    พี่ๆ ช่วยกันแชร์คำตอบ
    สอบถาม นั่งเป็นกลุ่ม ยกมือ จดบันทึก ซึ่งมีข้อมูลที่หลากหลายมากจากนั้นคุณครูลองให้พี่ๆ สำรวจวิชาที่เพื่อนๆ ชอบเรียนมากที่สุด
    ผลออกมาครั้งแรก ข้อมูลของพี่ๆ ไม่ตรงกันทั้งๆ ที่เป็นคนกลุ่มเดี่ยวกับ ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดให้พี่ๆ ใหม่ "คิดว่าทำไมข้อมูลของเราถึงไม่ตรงกัน"
    พี่ๆ ช่วยกันแชร์คำตอบ
    เพื่อนโกหก บางคนไม่ได้สอบถามจริงๆ เพื่อนสำรวจคนซ้ำ เป็นต้น มีคำถามมากมาย ครูกระตุ้นด้วยคำถามใหม่ "แล้วจะทำอย่างไรจะได้ข้อมูลที่ตรงกัน"
    วันต่อมานักเรีนสำรวจข้อมูลอีกรอบ แต่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับ "เมนูที่เพื่อนๆ ชอบรับประทานมากที่สุด"
    ผลออกมาก็ไม่ตรงกันอีก จากนั้น พี่ๆ ช่วยกันหาสาเหตุว่าเป็นเพราะอะไรข้อมูลถึงไม่่ตรงกันเมื่อได้ความน่าจะเป็นไปได้แล้วลองสำรวจใหม่อีกรอบโดยการให้เพื่อนๆ ยกมือ และมีคนจดข้อมูล ทุกคนได้ข้อมูลที่ตรงกัน
    วันต่อมาพี่ๆ ลองสร้างเป็นตารางแสดงข้อมูล พี่ๆ สามารถสร้างได้อย่างรวดเร็วส่วนมากให้เหตุผลว่า "เคยสังเกตเห็น"
    จากนั้นคุณครูลองนำตารางแสดงข้อมูลต่างๆ มาให้พี่ๆ สังเกต พี่ๆ ก็สามารถอ่านข้อมุลได้ยอดเยี่ยมมากค่ะ ...

    ปัญหาจะเยอะมากช่วงเก็บรวบรวมข้อมูล ... เพราะข้อมูลไม่ตรงกันค่ะ

    ตอบลบ